วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เปิดร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม. 112 ของนิติราษฎร์


การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ ปัญหาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  เป็นเหมือนทุ่นระเบิดทางการเมืองของไทย ปัญหาของกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่เห็นชัดในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง เพราะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทำลายล้างผู้ที่มีความคิดเห็นต่างทางการเมือง  เนื่องจากเป็นกฎหมายที่มี โทษสูง เปิดโอกาสให้ใคร ๆก็กล่าวโทษได้ และการตีความกฎหมายมีปัญหาจนกระทบเสรีภาพในการแสดงความเห็น
           
ปัญหามาตรา 112 ที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงในวงกว้าง มีความเห็นเป็น 3 แนวทาง คือ แก้ไขเนื้อหาให้สอดคล้องสภาพความเป็นจริง  แนวทางที่สอง คือ ยกเลิกกฎหมายมาตรานี้ไปเลย และแนวทางที่สาม คือ ไม่แตะต้อง ปล่อยให้คงอยู่ในสภาพเดิม
           
รศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และ อ.สาวตรี สุขศรี จากกลุ่มนิติราษฏร์ อธิบายที่มาที่ไปของการเสนอร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  ซึ่งมีรายละเอียดสำคัญ 7 ประเด็น  คือ  การเปลี่ยนฐานความผิดจากความผิดที่กระทบความมั่นคงแห่งรัฐ เป็นความผิดฐานหมิ่นพระเกียรติ

เพื่อป้องกันไม่ให้ใคร ๆก็แจ้งความกล่าวโทษได้ ,  การแยกฐานความผิด ว่าด้วย  หมิ่นประมาท  , ดูหมิ่น , แสดงความอาฆาดมาดร้ายออกจากกัน  การแยกการคุ้มครองตำแหน่ง  พระมหากษัตริย์  และ พระราชินี รัชทายาท  ผู้สำเร็จราชการฯ  , การลดอัตราโทษ   , การเพิ่มเหตุยกเว้นความผิด การเพิ่มเหตุยกเว้นโทษ และการกำหนดผู้กล่าวโทษ คือ สำนักราชเลขาธิการ

ร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  ของนิติราษฏร์  ได้มาจากการศึกษากฎหมายประเภทเดียวกันของนานาอารยประเทศ  และการเปรียบเทียบกับกฎหมายที่ว่าด้วยการหมิ่นประมาทของบุคคลธรรมดา  เพื่อให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยมากที่สุด
           
ในวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีการจัดกิจกรรมเปิดตัว "คณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112  ซึ่งเป็นการรวมตัวของนักกิจกรรม  นักคิด  นักเขียน นักวิชาการ หลายกลุ่ม เพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์

ความเป็นมาของอาเซียน



พิธีลงนามในปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
   ความเป็นมาของอาเซียน
อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน     
            
“ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ   
วัตถุประสงค์หลัก
                           ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
      1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
           วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ  
          และองค์การระหว่างประเทศ
                        ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน   ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง   กลับด้านบน


การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน
ครั้งที่
วันที่
ประเทศเจ้าภาพ
สถานที่จัดตั้งการประชุม
ครั้งที่ 1
23-24 กุมภาพันธ์ 2519
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 2
4-5 สิงหาคม 2520
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 3
14-15 ธันวาคม 2530
ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา
ครั้งที่ 4
27-29 มกราคม 2535
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 5
14-15 ธันวาคม 2538
ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 6
15-16 ธันวาคม 2541
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย
ครั้งที่ 7
5-6 พฤศจิกายน 2544
ประเทศบูรไนดารุสซาราม
บันดาร์เสรีเบกาวัน
ครั้งที่ 8
4-5 พฤศจิกายน 2545
ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ
ครั้งที่ 9
7-8 ตุลาคม 2546
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 10
29-30 พฤศจิกายน 2547
ประเทศลาว
เวียงจันทน์
ครั้งที่ 11
12?14 ธันวาคม 2548
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 12
11?14 มกราคม 25501
ประเทศฟิลิปปินส์
เซบู
ครั้งที่ 13
18?22 พฤศจิกายน 2550
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 14
27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
10-11 เมษายน 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
พัทยา
ครั้งที่ 15
23-25 ตุลาคม 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
ครั้งที่
8-9 เมษายน 2553
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย

หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน
        ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย


- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
- สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
          นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้               อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย มาโดยตลอด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใดๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้นๆ ก่อน
        
           
                  การที่อาเซียนยึดมั่นในหลัก ‘ฉันทามติ” และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน’ หรือที่ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเรียกว่า ‘วิถีทางของอาเซียน’ (ASEAN’s Way)ในทางหนึ่งนั้น ก็ถือเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัย ที่ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในเรื่องระบบการเมือง วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ มีความ ‘สะดวกใจ’ ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก และดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่ในอีกทางหนึ่ง“ฉันทามติและ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน”ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลายโอกาสว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวน การรวมตัวกันของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่ ของอาเซียน ล้มเหลว ในการจัดการกับปัญหา ของอาเซียนเองที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกใดประเทศสมาชิกหนึ่งได้ อย่างไรก็ดี การยึดถือฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจ ของอาเซียน ได้เริ่มมี ความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่กฎบัตรอาเซียน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551  เนื่องจาก กฎบัตรอาเซียนได้เปิดช่องให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้

โครงสร้างของอาเซียน
โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
            สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงาน
ตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก
            สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซียโดยมีหัวหน้าสำนักงานเรียกว่า “เลขาธิการอาเซียน” ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 35 ได้แต่งตั้งนาย Ong Keng Yong” ชาวสิงคโปร์ เป็นเลขาธิการอาเซียนคนใหม่แทนนาย Rodolfo C. Severino Jr. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546) และมีรองเลขาธิการอาเซียนจำนวน 2 คน (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโดยชาว มาเลเซียและเวียดนาม)
สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
           เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และติดตามผลของการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียนให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านอาเซียนดังกล่าว  กลับด้านบน



กฏบัตรอาเซียน
         เป็นร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพกฎบัตรอาเซียน เป็นร่างสนธิสัญญา ที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวาง กรอบทาง กฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียน ได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่าง กฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550

มนุษย์ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก


ศึกษาสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์วัฒนธรรมของภูมิภาคและโลก โดยส่วนรวม รวมทั้งสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและกฎหมายของภูมิภาคและโลก อันนำไปสู่กระแสโลกาภิวัตน์ ที่ส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ให้รวมถึงการศึกษาถึงบริบท ที่เกี่ยวข้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ ปัจจัยของการรับและผลกระทบการรับกระแสโลกาภิวัตน์ และแนวทาง ที่เหมาะสมในการสอดรับ
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของโลกโดยรวมในทุกมิติ ทั้งภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กฎหมายและสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับกระแสโลกาภิวัตน์ และตระหนักถึงอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ รวมทั้งรู้จักปรับปรน หรือต่อสู้กับกระแสโลกาภิวัตน์
มนุษย์ทั่วโลกได้สถาปนาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันนานนับหลายศตวรรษ ปัจจุบันความสัมพันธ์ในทุกๆด้านได้ทวีมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางติดต่อกันโดยการเดินทางด้วยเครื่องบินขีดสมรรถนะของความเร็วเหนือกว่าความเร็วของเสียง การเดินทางออกสู่ห้วงอวกาศ
การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายระบบสารสนเทศ การเดินทางติดต่อทางเรือโดยสารหรือเรือบรรทุกสินค้าขนาดมหึมา หรือ การไหลเวียนของสินค้าตลอดจนเงินทุน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ยิ่งทำให้มวลมนุษยชาติ ทั้งโลกต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยกันและกันมากกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต ผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่ผลิตขึ้นโดยบรรษัทอุตสาหกรรมข้ามชาติจากหลายประเทศได้ถูกส่งไปขายยังประเทศต่างๆทั่วโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนย้าย เงินตรา เทคโนโลยี และวัตถุดิบซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต ข้ามเขตพรมแดนของตนไปยังพรหมแดนอื่นที่อยู่ไกลออกไป
บนเส้นทางแห่งการไหลเวียนของระบบการผลิตและระบบการเงิน ได้เกิดการแลกเปลี่ยนอันไร้ขอบเขตของแนวคิดและวัฒนธรรมใหม่ซึ่งครอบคลุมวิถีแห่งวิถีการดำรงชีวิตดั้งเดิมของมนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์ส่งผลให้เกิดการก่อรูปและเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดจนส่งผลให้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดตลอดจนหลักการทางด้านสถานะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของระบบการเมืองการปกครอง กฎหมาย เศรษฐกิจรวมทั้งสังคมระหว่างรัฐชาติแต่ละรัฐชาติ สิ่งต่างๆที่กล่าวถึงเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้และกำลังคืบคลานเข้ามาเยือนทั่วทั้งโลก
ปรากฏการณ์ดังกล่าวนับเป็นอุบัติการณ์ที่ปรากฏขึ้นให้สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าของมนุษย์ นับตั้งดาวเคราะห์ดวงหนึ่งของระบบสุริยะจักรวาล (Universe) อันหมายถึงโลก ได้อุบัติขึ้นและโคจรด้วยการหมุนรอบตัวเอง ไปพร้อมกับการหมุนรอบ ดวงอาทิตย์ซึ่งนับเป็น ศูนย์กลางแห่งระบบสุริยะจักรวาล ในขณะเดียวกัน

สิทธิมนุษยชนในกระแสโลกาภิวัตน์


สิทธิมนุษยชนคืออะไร
สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หมายความถึง สิทธิความเป็นมนุษย์หรือสิทธิในความเป็นคน อันเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่เกิดมา สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ และไม่มีบุคคล องค์กร หรือแม้แต่รัฐ สามารถล่วงละเมิดความเป็นมนุษย์นี้ได้ สิทธิในความเป็นมนุษย์นี้เป็นของคนทุกคน ไม่เลือกว่าจะมีเชื้อชาติ แหล่งกำเนิด เพศ อายุ สีผิว ที่แตกต่างกันหรือจะยากดีมีจนหรือเป็นคนพิการ สิทธิมนุษยชนนั้นไม่มีพรมแดน การกระทำใดที่มนุษย์กระทำต่อกันอย่างหยามเกียรติและละเมิดศักดิ์ศรีของความเป็นคน ไม่ว่าจะเกิดแก่มนุษย์ที่ประเทศใด และไม่ว่า ผู้กระทำการละเมิดจะเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐใดรัฐหนึ่งก็ตาม ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
การจะเข้าใจความหมายของสิทธิมนุษยชนนั้น จำเป็นต้องเข้าใจหลักการต่างๆ ที่ถือเป็นองค์รวมของสิทธิมนุษยชนด้วย คือ
1) สิทธิ (Rights)
สิทธิเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์ทุกคนตามธรรมชาติที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งไม่มีใครล่วงละเมิดได้ คนทุกคนที่เกิดมามีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่รอด และต้องมีชีวิตอยู่อย่างสมเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความมีอยู่ของสิทธิตามธรรมชาตินี้ แม้เมื่อยังไม่มีกฎหมายมารองรับ สิทธิก็ยังมีอยู่
2) เสรีภาพ (Freedom)
เสรีภาพหมายถึง การที่มนุษย์สามารถทำอะไรก็ได้ภายใต้ขอบเขตของ ศีลธรรมอันดีงาม โดยไม่เบียดเบียนสังคม หรือไม่ล่วงล้ำสิทธิของบุคคลอื่น หรือสิทธิของส่วนรวม เราจึงเห็นว่ามีการใช้คำ 2 คำนี้พร้อมกัน คือสิทธิ และเสรีภาพ ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (Universal Declaration of Human Rights) มักจะใช้คำว่าสิทธิและเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นและแสดงออก หรือสิทธิและเสรีภาพในการเลือกคู่ครองและสร้างครอบครัว เป็นต้น
3) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity)
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นคำที่อธิบายความหมายของสิทธิมนุษยชน ในแง่ของการให้คุณค่าแก่ความเป็นคนว่า คนทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นหลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชนที่กำหนดสิทธิที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ใครจะละเมิดไม่ได้ และไม่สามารถ่ายโอนให้แก่กันได้ สิทธินี้คือสิทธิในการมีชีวิตและมีความมั่นคงในการมีชีวิตอยู่ คนทุกคนที่เกิดมาบนโลกมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้นการปฏิบัติต่อกันของผู้คนในสังคมจึงต้องเคารพความเป็นมนุษย์ ห้ามทำร้ายร่างกาย ทรมานอย่างโหดร้าย หรือกระทำการใดๆ ที่ถือเป็นการเหยียดหยามความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ได้รับการรับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศ อนุสัญญา และปฏิญญาระหว่างประเทศหลายฉบับ
สังคมปัจจุบันมักละเลยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะมีการให้คุณค่าของคนแตกต่างกัน สังคมทั่วไปให้คุณค่าของความเป็นคนที่สถานภาพทางสังคมของผู้นั้น เช่น เป็นกำนัน เป็นนายทหาร เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นผู้พิพากษา สถานภาพทางสังคมของคนแต่ละคน ไม่ใช่ตัวชี้วัดว่ามนุษย์หรือคนคนนั้นมีศักดิ์ศรีของมนุษย์หรือไม่ แต่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือการให้คุณค่าความเป็นคนตามธรรมชาติของมนุษย์ไม่ว่าจะเกิดมาพิการ เป็นเด็ก เป็นผู้หญิง ผู้ชาย กะเทย เกิดมาเป็นคนปัญญาอ่อน หรือยากจน คนทุกคนที่เกิดมาถือว่ามีคุณค่าเท่ากัน ต้องปฏิบัติต่อกันเยี่ยงมนุษย์อย่างเสมอหน้ากัน เพราะการปฏิบัติต่อกันของผู้คนในสังคมอย่างเสมอหน้ากันเป็นการเคารพศักดิ์ศรีมนุษย์
4) ความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติ (Equality and Discrimination)
เกณฑ์การวัดว่าสังคมหนึ่งสังคมใดมีการละเมิดหรือเคารพสิทธิมนุษยชนก็คือ การดูว่าสังคมนั้นมีการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือไม่ ตัวชี้วัดของการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ก็คือ ความเสมอภาค หรือการปฏิบัติต่อคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน หากมีการปฏิบัติต่อมนุษย์โดยไม่เท่าเทียมกัน เราเรียกว่า การเลือกปฏิบัติ
ความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน มิใช่แปลว่าคนทุกคนต้องได้รับเท่านั้น แต่หมายความว่า ในสถานการณ์ที่เหมือนกันจะต้องปฏิบัติต่อคนด้วยหลักการเดียวกัน เช่น การประกาศรับนักเรียนเข้าเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนของรัฐนั้น ต้องเป็นการประกาศแก่บุคคลทั่วไปที่มีบุตรอายุครบตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เด็กทุกคนที่อายุครบ 7 ปี มีสิทธิสมัครสอบเข้าเรียนชั้น ป.1 เป็นต้น โรงเรียนจะประกาศว่า โรงเรียนจะรับเด็กที่พ่อแม่มีอุปการคุณเข้าโรงเรียน โดยเด็กไม่ต้องสอบเข้าเหมือนเด็กคนอื่นไม่ได้ หากโรงเรียนประกาศในลักษณะเช่นนี้ เท่ากับเป็นการใช้หลักเกณฑ์ที่ต่างกันต่อการปฏิบัติในสถานการณ์ที่เหมือนกัน ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ
ส่วนที่กล่าวว่าความเท่าเทียมกัน หรือเสมอภาคกันนั้น ไม่ได้แปลว่าคนทุกคนต้องได้รับเท่ากัน แต่หมายความว่า ในสถานการณ์เดียวกัน อาจมีการได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันได้ เพราะข้อจำกัดหรือความจำเป็นของบุคคลนั้น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการไม่เสมอภาคหรือเป็นการเลือกปฏิบัติ เช่น รัฐบาลประกาศว่าคนทุกคนที่มีรายได้จะต้องเสียภาษีให้แก่รัฐเท่ากันทุกคน โดยไม่ต้องคำนึงว่าใครจะมีรายได้มากน้อยเท่าใด โดยรัฐจะอ้างว่านี่คือการใช้เกณฑ์เดียวกัน ปฏิบัติต่อคนทุกคนเสมอหน้ากันหรือรัฐจะออกกฎหมายให้คนทุกคนอยู่บ้านการเคหะที่รัฐจัดหาไว้ให้ เพื่อแสดงว่าคนทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอหน้ากัน ย่อมไม่ใช่การอธิบายหลักของความเสมอภาค เพราะในความเป็นจริง การเสียภาษีให้แก่รัฐตามกำลังแห่งรายได้ของบุคคลนั้น ย่อมเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้มีรายได้ทุกคน มิใช่ให้คนที่มีรายได้น้อยต้องเสียภาษีเท่าคนที่มีรายได้มาก
ดังนั้น ตามหลักการเรื่องความเสมอภาคนั้น จึงต้องเป็นกรณีที่มีข้อเท็จจริง 2 ชุด หรือกรณีบุคคล 2 คน หรือกลุ่ม 2 กลุ่ม โดยนำข้อเท็จจริงทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน โดยยึดถือสาระสำคัญของเรื่องนั้นๆ เป็นจุดโยงในการเปรียบเทียบ ซึ่งอะไรถือเป็นสาระสำคัญของเรื่องหรือกรณีนั้นๆ ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป เพราะความเหมือนหรือแตกต่างกันในสาระสำคัญของกรณีนั้นจะเกี่ยวพันถึงความสามารถที่จะต้องปฏิบัติให้แตกต่างหรือเหมือนกัน เช่น กรณีการเสียภาษีให้แก่รัฐดังกล่าวข้างต้น สาระสำคัญของกรณีนี้คือ รายได้ของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน จึงต้องเสียภาษีตามสัดส่วนของรายได้ที่ตนได้รับ จึงเกิดความเป็นธรรม เสมอภาคกัน ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ หรือในกรณีคนพิการที่รัฐต้องมีบริการเป็นพิเศษ เพื่อให้คนพิการสามารถได้รับบริการง่ายขึ้นนั้น ไม่ถือว่ารัฐเลือกปฏิบัติต่อคนปกติ เพราะสาระสำคัญของกรณีนี้คือ คนพิการไม่สามารเข้าถึงบริการของรัฐได้เช่นคนปกติ จึงต้องมีวิธีการพิเศษที่ทำให้คนพิการเข้าถึงบริการได้โดยง่ายและเป็นธรรมแก่คนพิการ เช่น กรณีกรุงเทพมหานครจัดลิฟต์ให้คนพิการที่สถานีรถไฟฟ้า BTS หรือมีทางเท้าที่มีทางลาดให้คนพิการที่นั่งรถเข็นสามารถขึ้น-ลง ทางเท้าได้โดยง่าย เป็นการอำนวยความสะดวกให้คนพิการ ถือว่าเป็นการปฏิบัติต่อบุคคลที่มีสาระสำคัญแตกต่างกัน โดยไม่เหมือนกัน ไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ
เมื่อได้เข้าใจหลักการต่างๆ  และที่มาของสิทธิมนุษยชนนี้แล้ว จะทำให้สามารถแยกแยะหรืออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมได้ว่า กรณีใดเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ละเมิดสิทธิ มนุษยชนอะไร และอาศัยหลักการ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. กรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และสิทธิในชีวิต
2. กรณีโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งไม่รับเด็กที่เป็นโปลิโอเข้าเรียนโดยอ้างว่าเป็นคนพิการ ไม่น่าจะเรียนได้เท่าเด็กปกติ เป็นการละเมิดหลักความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติ
3. กรณีกรมตำรวจออกจดหมายเตือนบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ให้งดการวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล เป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของเสรีภาพของสื่อมวลชน
4. กรณีชาวเขาอยู่บนเขามาก่อนการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ทางราชการบังคับให้ย้ายออกเพราะกลัวว่าจะไปตัดไม้ทำลายป่า เป็นการละเมิดเสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่
5. กรณีหนังสือพิมพ์ลงภาพข่าวผู้หญิงถูกข่มขืนและนำเสนอข่าวการถูกข่มขืนอย่างละเอียด เป็นการละเมิดเสรีภาพในเกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นส่วนตัว
6. กรณีรัฐบาลออกกฎหมายให้มีพรรคการเมืองของรัฐบาลเพียงพรรคเดียว เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพทางการเมือง
7. กรณีรัฐบาลสร้างเขื่อนโดยไม่ให้ประชาชนรับรู้ข่าวสาร เป็นการละเมิดสิทธิที่จะรู้ข้อมูลข่าวสาร
8. กรณีตำรวจซ้อมผู้ต้องหาให้รับสารภาพ เป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกายห้ามทรมาน
9. กรณีนายสุชาติ ชาวบุรีรัมย์ มาทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้างในกรุงเทพฯ ได้ค่าจ้างวันละ 50 บาท เป็นการละเมิดสิทธิในการมีงานทำ และได้ค่าจ้างที่ยุติธรรม
10. กรณีชาวกะเหรี่ยงถือผี จัดพิธีเคารพเจดีย์ เจ้าป่าเจ้าเขา แต่ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้สั่งห้าม เป็นการละเมิดสิทธิในการถือศาสนา และสิทธิในการดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรม

 

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ลำดับเหตุการณ์ อาการป่วย ก่อนถึงวันจากไป

ผมกับอากงและเพื่อนๆ มักจะชวนกันออกกำลังกายด้วยกันทุกเช้า ผมกับอากงเราจะแกว่งมือด้วยกัน วันละประมาณ 15-30 นาที ก่อนกินข้าวเช้า ราวๆ ต้นเดือนเมษายน อากงมาบ่นให้ผมฟังว่าแกปวดท้องน้อยบริเวณเหนือสะดือ ค่อนไปทางซ้ายหรือขวาผมจำไม่ได้ ผมเลยคิดว่าอาการน่าจะปวดกล้ามเนื้อท้องเนื่องมาจากการออกกำลังกาย ผมจึงบอกให้อากงหยุดแกว่งแขวนไปก่อนจนกว่าจะหายปวด เพราะก่อนหน้านี้ราวๆ เดือนมกราคม ก็เคยมีอาการแบบนี้ หยุดแกว่งแขนก็หาย ครั้งนี้ก็คงเหมือนกับครั้งก่อนละมั้ง อากงจึงหยุดแกว่งแขนเพื่อรอดูอาการตั้งแต่วันนั้น
1 สัปดาห์ผ่านไป อากงยังคงมีอาการเจ็บอยู่ ผมจึงให้แกทำเรื่องออกสถานพยาบาลภายในเรือนจำ (พบ.) ในวันจันทร์, 23 เมษายน แต่วันนี้อากงไม่ได้รับการตรวจ เพราะช่วงเช้าทางสมาคมทนายความมาขอพบ และป้าอุ๊มาเยี่ยมพอดี จึงทำให้ต้องเลื่อนไปในวันถัดไป
อังคาร, 24 เมษายน อากงออก พบ.แต่เช้า แต่ไม่ได้รับการตรวจใดๆ อากงบอกว่า เขาถามว่าเป็นอะไร อากงก็ตอบว่าปวดท้อง พวกเขาก็บอกกลับได้ แล้วจะจัดยาไปให้ วันนั้นอากงก็กลับมาที่แดนและได้รับยา 1 ชุดในตอนเย็น ผมไม่แน่ใจว่าเป็นยาอะไร แต่บอกว่าให้ลองกินดู ไม่หายค่อยทำเรื่องออกไปใหม่ ระยะนี้อากงก็มีลักษณะภายนอกเหมือนปกติทุกวัน กินข้าวได้ เดินเหินได้ปกติ
หลังจากกินยาชุดนี้ได้ 3-4 วัน อาการก็ยังไม่ดีขึ้น ยังคงเจ็บท้องอยู่ และมีอาการท้องใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย และกดดูแล้วก็แข็ง เนื่องจากอากงเป็นคนมีพุงอยู่แล้ว เลยไม่มีใครคิดว่าเป็นอาการผิดปกติ ผมจึงทำเรื่องให้อากงออกไป พบ.อีกครั้ง ในวัน จันทร์,30 เมษายน อากงเล่าให้ฟังหลังจากกลับมาจาก พบ.ว่า วันนี้พวกเขาก็ทำเหมือนเดิม คือ ถามว่าเป็นอะไร แล้วก็ไล่กลับ แต่ครั้งนี้อากงทนไม่ไหวจึงโวยวายออกไปว่า “ตรวจอั๊วด้วยสิ อั๊วเจ็บท้องหลายวันแล้ว กินยาก็ไม่หาย ไม่ตรวจดูจะรู้ได้ยังไงว่าเป็นอะไร !!” จึงทำให้อากงได้รับการตรวจ และเย็นนั้นจึงได้ยามาอีก 1 ชุด
หลังจากกินยาชุดที่สองนี้แล้ว อาการเจ็บท้องก็ยังไม่หาย และท้องก็ใหญ่ขึ้น ตึงขึ้น และแข็งมาก จนพี่สมยศทักอากงว่าเป็นอาการเกี่ยวกับตับหรือเปล่า? เพราะพี่สมยศเคยมีประสบการณ์กับโรคตับมาก่อน เมื่อได้ฟังเช่นนี้แล้ว อากงจึงเกิดอาการวิตกกังวลอย่างเห็นได้ชัด จนอากงร้องไห้กับผมแล้วบอกว่า “ทำไมไม่หายซักที ผมแย่แล้ว ให้ผมตายเหอะ !!” พูดอยู่หลายครั้ง ผมจึงได้ปลอบใจว่าอากงไม่เป็นไรหรอกน่า เดี๋ยวอาทิตย์นี้ก็ไปโรงพยาบาลราชทัณฑ์แล้ว อดทนอีกหน่อยเถอะนะ พร้อมทั้งให้กำลังใจแกเหมือนทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะข่าวการช่วยแร่งรัดขออภัยโทษให้แก และเพื่อนๆ คดี 112 ทั้งหมดที่ทางคุณอานนท์มาแจ้งให้เราทราบในวัน พุธ, 2 พฤษภาคม ในวันนี้คุณอานนท์ยังทักว่าอากงดูไม่ค่อยดี ผมจึงขอให้คุณอานนท์ช่วยแจ้งอาจารย์หวาน ช่วยประสานให้อากงออกโรงพยาบาลราชทัณฑ์ (รพ.รท) โดยด่วน คุณอานนท์รับปากและได้ช่วยประสานงานให้ โดยเราเชื่อว่าที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์จะมีหมอเก่งๆ ช่วยรักษาให้อากงหายเจ็บได้
พฤหัส, 3 พฤษภาคม อากงเริ่มมีอาการทรุดลงอย่างเห็นได้ชัด และปฏิเสธโจ๊กที่พวกราสั่งซื้อให้แกกินอยู่ทุกวัน ผมจึงให้แกกินนมไวตามิลค์ เพื่อให้แกกินยา จากนั้นแกก็นอน อากาศเวลานั้นร้อนมากๆ ผมทายาหม่องให้แกที่หน้าอก หลัง คอ เพื่อให้หายใจสะดวก และคอยพัดให้แกอยู่เรื่อยๆ แกนอนรอป้าอุ๊มาเยี่ยมอย่างเช่นทุกวัน แต่วันนี้แปลกตรงที่ว่า พอมีเสียงประกาศเยี่ยมญาติของอากง ทุกทีแกจะรีบกุลีกุจอแทบจะวิ่งไปรับใบเยี่ยมญาติ แต่ครั้งนี้เราต้องพยุงแกขึ้นมา อากงหันมามองหน้าผม ทำเหมือนจะร้องไห้แล้วพูดว่า “หนุ่มไปด้วยนะ ไปกับผมด้วย ผมเดินไม่ไหว” ผมไม่เคยได้ยินคำพูดและน้ำเสียงแบบนี้ของแกมาก่อนตลอดเวลาที่อยู่ด้วยกันมา เกือบ 2 ปี ผมจึงขออนุญาตเจ้าหน้าที่ออกไปส่งแกที่จุดเยี่ยมญาติเพื่อพาแกมาหาป้าอุ๊ และผมได้กำชับแกโดยเขียนลงกระดาษให้แกบอกป้าอุ๊ว่าให้โทรบอกอาจารย์หวาน เรื่องการส่งอากงไปโรงพยาบาลอีกครั้ง รวมถึงให้ป้าอุ๊ซื้อนมเปรี้ยวและผลไม้ที่ย่อยง่ายๆ ให้ด้วย เพราะอากงจะได้กินในช่วงที่ป่วยอยู่นี้
เยี่ยมเสร็จผมกับอากงได้เจอป้าอุ๊ไกลๆ ที่ช่องรับของฝาก ผมทำสัญลักษณ์มือที่กางนิ้วก้อยกับนิ้วโป้งและยกขึ้นข้างหู ให้ป้าอุ๊กับป้าน้อย (ภรรยาอาจารย์สุรชัย) เพื่อส่งภาษาใบ้ว่าอย่าลืมโทร (หาอาจารย์หวาน) ด้วยนะ ป้าอุ๊ก็พยักหน้าเข้าใจ แล้วผมก็ชี้นิ้วไปที่อากง แล้วโบกมือไปมาแทนความหมายว่า ไม่ต้องเป็นห่วง (อากง) นะ จากนั้นเราก็เดินกลับแดน
ใครจะรู้ว่าการพบกันในวันนั้นของอากงกับป้าอุ๊ จะเป็นการพบกันเป็นครั้งสุดท้ายของสามีภรรยาคู่นี้ที่ต่างเฝ้าประคับประคอง จิตใจกันมาอย่างยาวนาน
เช้าวันศุกร์, 4 พฤษภาคม หลังจากอาบน้ำตอนเช้าด้วยกันแล้ว อากงก็หลบไปนอนในโรงอาหารอีก และไม่ยอมกินโจ๊กเหมือนเมื่อวาน ผมจึงปล่อยแกนอน โดยเตรียมนมไวตามิลค์ไวให้ วันนี้มีประกาศชื่ออากงให้ออกโรงพยาบาลราชทัณฑ์แต่เช้า ผมจึงดีใจเพราะวันนี้อากงจะได้ออกไปหาหมอเสียที เสียงประกาศชื่ออากงอีกครั้งเวลา 9.00 น. ผมปลุกแกให้ตื่นเพื่อให้แกกินนม และใส่เสื้อเพื่อเตรียมตัวไปโรงพยาบาล อากงกินได้ไม่ถึงครึ่งกล่องก็บอกว่ากินไม่ลงแล้ว ผมจึงพยุงแกลงมาจากโรงอาหาร ตอนนี้ผมสังเกตเห็นดวงตาของแกค่อนข้างเหลืองมาก ท้องก็ยังโตและแข็งอยู่เหมือนเดิม ผมขอให้อากงนั่งรถเข็นออกไปเพราะแกเดินไม่ไหวแล้ว อากงถูกเข็นออกไปอย่างช้าๆ และนี่เป็นภาพสุดท้ายที่ผมได้เห็นอากง โดยไม่เคยคิดว่าการจากกันครั้งนี้จะเป็นการจากกันตลอดไปโดยไม่ได้พบกันอีก เลย

เปิดจดหมายนักโทษผู้ใกล้ชิด “อากง” ลำดับการจากไป ในวาระครบ 1 เดือน

ในวาระครบรอบ 1 เดือน (8 พ.ค.) การเสียชีวิตของนายอำพล หรือ อากง ‘ประชาไท’ ขอนำเสนอจดหมาย 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นของนักโทษคดีเดียวกันผู้คอยดูแลอากงมาแต่วันแรกของการอยู่ใน เรือนจำ เขาเขียนเพื่อไว้อาลัยและต้องการให้โลกภายนอกได้รับรู้ลำดับอาการของชายชรา ผู้นี้ รวมทั้งนิสัยใจคอและความเป็นอยู่ที่ผ่านมา แม้จะสุ่มเสี่ยงและไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะส่งเรื่องราวเหล่านี้ออกมา
อีกฉบับหนึ่งเป็นของอดีตผู้ต้องขังคดีการเมือง ซึ่งพ้นโทษออกมาแล้วและเคยอยู่แดนเดียวกับอากง เขาสะท้อนถึงความยากลำบากในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในเรือนจำของผู้ต้องขัง
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ
 

1. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ
เครื่อง มือทางภูมิศาสตร์ใช้ประกอบการเก็บข้อมูล เพื่อการบรรยายเชิงปริมาณและคุณภาพ เช่น จีพีเอสหรือระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก เข้มทิศ เครื่องมือบางชนิดใช้ประกอบการเรียนและการสอนในห้องเรียนหรือในห้องปฏิบัติ การ และเครื่องมือบางชนิดใช้ประกอบการศึกษาและเก็บข้อมูลเฉพาะในสนามเท่านั้น บางครั้งการใช้เครื่องมือต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย เช่น เครื่องมือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือที่รู้จักกันในปัจจุบัน

ว่า GIS(Geographic Information System) ข้อมูลดาวเทียมหรือ SRS (Satellite Remote Sensing) ระบบกำหนดตำแหน่งพื้นผิวโลกหรือ GPS (Global Positioning System) ซึ่งนักภูมิศาสตร์ยุคใหม่จำเป็นต้องรู้
1.1 ลูกโลก
1.) องค์ประกอบของลูกโลก องค์ประกอบหลักของลูกโลกจะประกอบไปด้วย
1.1) เส้นเมริเดียนหรือเส้นแวง เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปจดขั้วโลกใต้ ซึ่งกำหนดค่าเป็น 0 องศา ที่เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ
1.2) เส้นขนาน หรือเส้นรุ้ง เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ทุกเส้นจะขนานกับเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีค่ามุมเท่ากับ 0 องศา
2.) การใช้ลูกโลก ลูกโลกใช้ประกอบการอธิบายตำแหน่งหรืสถานที่ของจุหรือพื้นที่ของส่วนต่างๆของโลก โดยประมาณ

1.2 เข็มทิศ
เข็ม ทิศเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการหาทิศของจุดหรือวัตถุ โดยมีหน่วยวัดเป็นองศา เปรียบเทียบกับจุดเริ่มต้น เข็มทิศใช้ในการหาทิศโดยอาศัยแรงดึงดูดระหว่างสนามแม่เหล็กขั้วโลก (Magnetic Pole) กับเข็มแม่เหล็ก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของเครื่องมือนี้ เข็มแม่เหล็กจะแกว่งไกวได้โยอิสระในแนวนอน เพื่อให้แนวเข็มชี้อยู่ในแนวเหนือใต้ ไปยังขั้วแม่เหล็กโลกตลอดเวลา หน้าปัดเข็มทิศซึ่งคล้ายกับหน้าปัดนาฬิกาจะมีการแบ่งโดยรอบเป็น 360 องศา
1) ประโยชน์ของเข็มทิศ เข็มทิศใช้ประโยชน์ในการเดินทาง ได้แก่ การเดินเรือทะเล เครื่องบิน การใช้เข็มทิศจะต้องมีแผนที่ประกอบ และต้องหาทิศเหนือก่อน เพื่อจะได้รู้ทิศอื่น
2) การใช้เข็มทิศ เนื่องจากการหาทิศจริงในแผนที่ต้องใช้เข็มทิศ เพื่อหาทิศเหนือก่อน จึงต้องวางแผนที่ให้ตรงทิศตามเข็มทิศ จากนั้นจึงใช้แผนที่ได้ตามวัตถุประสงค์

1.3 รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม
รูป ถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมเป็นรูปหรือข้อมูลตัวเลขที่ได้จากการเก็บ ข้อมูลภาคพื้นดินจากกล้องที่ติดอยู่กับพาหนะ เช่น เครื่องบิน หรือดาวเทียม โดยมีการบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดหรือหยาบในเวลาแตกต่างกัน จึงทำให้เห็นภาพรวมของการใช้พื้นที่และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตามที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก เช่น การเกิดอุทกภัย ไฟป่า การเปลี่ยนแปลง การใช้ที่ดิน การก่อสร้างสถานที่ เป็นต้น
1) ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ที่นิยมใช้กันมากจะเป็นรูปหรือภาพถ่ายที่ได้จากการสะท้อนคลื่นแสงของดวงอาทิตย์ขึ้นไปสู่เครื่องบันทึกที่ติดอยู่บนเครื่องบิน
หรือ ดาวเทียม การบันทึกข้อมูลอาจจะทำโดยใช้ฟิลม์ เช่น รูปถ่ายทางอากาศสีขาว-ดำ หรือรูปถ่ายทางอากาศสีธรรมชาติ การบันทึกข้อมูลจากดาวเที่ยมจะใช้สัญญาณเป็นตัวเลขแล้วจึงแปลงค่าตัวเลขเป็น ภาพจากดาวเทียมภายหลัง
2) การใช้รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ผู้ใช้จะต้องได้รับการฝึกหัดเพือแปลความหมายของข้อมูล การแปลความหมายอาจจะใช้การแปลด้วยสายตาตามความสามารถของแต่ละบุคคล หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมเข้ามาช่วย

1.4 เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์
ใน โลกยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนมาก เทคโนโลยีจึงเข้ามามีความสำคัญ และจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต เทคโนโลยีที่สำคัญด้านภูมิศาสตร์ คือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือ GIS (Geographic Information System) และระบบกำหนดตำแหน่งพื้นผิวโลกหรือGPS (Global PositioningSystem) เครื่องมือทั้งสองจะประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ (Hard ware) ซึ่งมีขนาดต่างๆและโปรแกรมหรือซอฟแวร์ (Software)
1) ประโยชน์ของเครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์ จะคล้ายกับการใช้ประโยชน์จากแผนที่สภาพภุมิประเทศและแผนที่เฉพาะเรื่อง เช่น จะให้ตำตอบว่า ถ้าจะต้องเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในแผนที่จะมีระยะทางเท่าใด และถ้าทราบความเร็วของรถจะทราบได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าใด
หลัก การทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ การจัดหมวดหมู่ของข้อมูลตามความต้องการที่จะนำไปวิคราะห์การคัดเลือกตัวแปร หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย และการซ้อนทับข้อมูล ตัวอย่างเช่น ต้องการหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือเหมาะสมดี เหมาะสมปานกลาง และไม่เหมาะสม โดยคัดเลือกข้อมูล 2 ประเภท คือ ดินและสภาพภูมิประเทศ
2) การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์ การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีจำเป็นต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม ผู้ใช้จะต้องได้รับการฝึกฝนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ
        2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศของไทย
ปัจจุบัน ได้มีการคิดค้นและพัฒนาการข้อมูลสารสนเทศอย่างรวดเร็ว และได้เผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนมาก โดยเฉพาะการนำข้อมูลเข้าเว็บไซต์ให้ประชาชนและผู้สนใจทั่วไปเข้าไปดูข้อมูล ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล แต่ข้อมูลบางชนิดอาจต้องติดต่อจากหน่วยงานนั้นๆโดยตรง ทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน เว็บไซต์ที่น่าสนใจ เช่นข้อมูลด้านสถิติ(www.nso.go.th) ข้อมูลประชากร(www.dola.go.th) ข้อมูลดาวเทียม(www.gistda.go.th) ข้อมูลดินและการใช้ที่ดิน (www.dld.go.th) เป็นต้น
กล่าว โดยสรุป เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใช้ประกอบการศึกษาและการเก็บข้อมูล เครื่องมือบางชนิดเหมาะสำหรับใช้ในห้องเรียน หรือห้องปฏิบัติการ เครื่องมือบางชนิดใช้ได้สำหรับในห้องเรียนและในสนาม ผู้ใช้จะได้รู้ว่าเมื่อใด ควรใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ในห้องเรียน และเมื่อใดควรใช้ในภาคสนาม เครื่องมือบางชนิดจะมีความซับซ้อนมาก หรือต้องใช่ร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม
เครื่อง มือทางภูมิสาสตร์ที่มีความสำคัญมากในปัจจุบันคือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ซึ่งแปลงสารสนเทศที่เกี่ยวกับพื้นที่ และข้อมูลตารางหรือคำอธิบายที่ให้เป็นข้อมูลเชิงตัวเลขทำให้การจัดเก็บเรียก ดูข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขและการวิเคราะห์เป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องและแสดงผลใน รูปแบบแผนที่ กราฟ หรือตารางได้อย่างถูกต้องอีกด้วย ส่วนระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GIS) ใช้กำหนดจุดพิกัดตำแหน่งของวัตถุต่างๆ บนผิวโลก โดยอาศัยสัญญาณ จากดาวเทียมหลายดวงที่โคจรอยู่รอบโลก

เครื่องมือและการใช้เครื่องมือในการศึกษาทางภูมิศาสตร์

แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ความหมายของแผนที่
พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของแผนที่ไว้ว่าแผนที่ คือ สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่ปรุงแต่งขึ้น โดยแสดงลงในพื้นแบนราบ ด้วยการย่อให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและอาศัยเครื่องหมายกับสัญลักษณ์ที่ กำหนดขึ้น
แผนที่ หมายถึง การนำเอารูปภาพสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก (Earth’ surface) มาย่อส่วนให้เล็กลง แล้วนำมาเขียนลงกระดาษแผ่นราบ สิ่งต่างๆ บนพื้นโลกประกอบไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (nature) และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (manmade) สิ่งเหล่านี้แสดงบนแผนที่โดยใช้สี เส้นหรือรูปร่างต่างๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทน
การจำแนกชนิดของแผนที่
                 ปัจจุบันการจำแนกชนิดของแผนที่ อาจจำแนกได้หลายแบบแล้วแต่จะยึดถือสิ่งใดเป็นหลักในการจำแนก เช่น
1. การจำแนกชนิดของแผนที่ตามลักษณะที่ปรากฏบนแผนที่ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1.1 แผนที่ลายเส้น (Line Map) เป็น แผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นที่ด้วยเส้นและองค์ประกอบของเส้น ซึ่งอาจเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ท่อนเส้น หรือเส้นใดๆ ที่ประกอบเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ถนนแสดงด้วยเส้นคู่ขนาน อาคารแสดงด้วยเส้นประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม สัญลักษณ์ที่แสดงรายละเอียดเป็นรูปที่ประกอบด้วยลายเส้น แผนที่ ลายเส้นยังหมายรวมถึงแผนที่แบบแบนราบและแผนที่ทรวดทรง ซึ่งถ้ารายละเอียดที่แสดงประกอบด้วยลายเส้นแล้วถือว่าเป็นแผนที่ลายเส้นทั้ง สิ้น 


ตัวอย่างแผนที่ลายเส้น
1.2 แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) เป็น แผนที่ซึ่งมีรายละเอียดในแผนที่ที่ได้จากการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพ ซึ่งอาจถ่ายภาพจากเครื่องบินหรือดาวเทียม การผลิตแผนที่ทำด้วยวิธีการนำเอาภาพถ่ายมาทำการดัดแก้ แล้วนำมาต่อเป็นภาพแผ่นเดียวกันในบริเวณที่ต้องการ แล้วนำมาใส่เส้นโครงพิกัด ใส่รายละเอียดประจำขอบระวาง แผนที่ภาพถ่ายสามารถทำได้รวดเร็ว แต่การอ่านค่อนข้างยากเพราะต้องอาศัยเครื่องมือและความชำนาญ 
ตัวอย่างแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ
1.3 แผนที่แบบผสม (Annotated Map) เป็น แบบที่ผสมระหว่างแผนที่ลายเส้นกับแผนที่ภาพถ่าย โดยรายละเอียดที่เป็นพื้นฐานส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพ ส่วนรายละเอียดที่สำคัญๆ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ถนนหรือเส้นทาง รวมทั้งอาคารที่ต้องการเน้นให้เห็นเด่นชัดก็แสดงด้วยลายเส้น พิมพ์แยกสีให้เห็นเด่นชัดปัจจุบันนิยมใช้มาก เพราะสะดวกและง่ายแก่การอ่าน มีทั้งแบบแบนราบ และแบบพิมพ์นูน ส่วนใหญ่มีสีมากกว่าสองสีขึ้นไป 
 ตัวอย่างแผนที่แบบผสม
2. การ จำแนกชนิดของแผนที่ตามขนาดของมาตราส่วน ประเทศต่าง ๆ อาจแบ่งชนิดของแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนไม่เหมือนกัน ที่กล่าวต่อไปนี้เป็นการแบ่งแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนแบบหนึ่งเท่านั้น
2.1 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักภูมิศาสตร์
2.1.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเล็กว่า 1:1,000,000
2.1.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 ถึง 1:1,000,000
2.1.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000
2.2 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักการทหาร
2.2.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วน 1:600,000 และเล็กกว่า
2.2.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:600,000 แต่เล็กกว่า 1:75,000
2.2.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:75,000 และใหญ่กว่า

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สิทธิมนุษยชน

   การออกมาล่ารา
  • สิทธิความเป็นกัมพณ หมายถึงแนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ที่ว่า มนุษย์นั้นมีสิทธิหรือสถานะสากล ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับขอบเขตของกฎหมาย หรือปัจจัยท้องถิ่นอื่นใด เช่น เชื้อชาติ หรือ สัญชาติ
  • สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิ ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอน หรือแจกให้กับผู้หนึ่งผู้ใดได้ สิทธิดังกล่าวนี้มีความเป็นสากลและเป็นนิรันดร์
จาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าวว่า "มนุษยทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง"[1]
ความดำรงอยู่ ความถูกต้อง และเนื้อหาของสิทธิมนุษยชน เป็นหัวข้อที่เป็นที่โต้เถียงกันมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในทางปรัชญาและรัฐศาสตร์ ตามกฎหมายแล้ว สิทธิมนุษยชนได้ถูกบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศและในกฎหมายภายในของหลายรัฐ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนจำนวนมากแล้ว หลักการของสิทธิมนุษยชนนั้นกินขอบเขตเลยไปกว่ากฎหมาย และก่อร่างขึ้นเป็นหลักศีลธรรมพื้นฐานสำหรับวางระเบียบภูมิศาสตร์การเมืองร่วมสมัย สำหรับคนกลุ่มนี้แล้ว สิทธิมนุษยชนคือความเสมอภาคในอุดมคติยชื่อ เสนอแก้มาตรา 112 ของกลุ่มนิติราษฏร์ โดยมีนักวิชาการ และผู้สนับสนุนจำนวน 118 คนเข้าร่วมรณรงค์ เป็นประเด็นร้อนขอ