วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ
 

1. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ
เครื่อง มือทางภูมิศาสตร์ใช้ประกอบการเก็บข้อมูล เพื่อการบรรยายเชิงปริมาณและคุณภาพ เช่น จีพีเอสหรือระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก เข้มทิศ เครื่องมือบางชนิดใช้ประกอบการเรียนและการสอนในห้องเรียนหรือในห้องปฏิบัติ การ และเครื่องมือบางชนิดใช้ประกอบการศึกษาและเก็บข้อมูลเฉพาะในสนามเท่านั้น บางครั้งการใช้เครื่องมือต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย เช่น เครื่องมือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือที่รู้จักกันในปัจจุบัน

ว่า GIS(Geographic Information System) ข้อมูลดาวเทียมหรือ SRS (Satellite Remote Sensing) ระบบกำหนดตำแหน่งพื้นผิวโลกหรือ GPS (Global Positioning System) ซึ่งนักภูมิศาสตร์ยุคใหม่จำเป็นต้องรู้
1.1 ลูกโลก
1.) องค์ประกอบของลูกโลก องค์ประกอบหลักของลูกโลกจะประกอบไปด้วย
1.1) เส้นเมริเดียนหรือเส้นแวง เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปจดขั้วโลกใต้ ซึ่งกำหนดค่าเป็น 0 องศา ที่เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ
1.2) เส้นขนาน หรือเส้นรุ้ง เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ทุกเส้นจะขนานกับเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีค่ามุมเท่ากับ 0 องศา
2.) การใช้ลูกโลก ลูกโลกใช้ประกอบการอธิบายตำแหน่งหรืสถานที่ของจุหรือพื้นที่ของส่วนต่างๆของโลก โดยประมาณ

1.2 เข็มทิศ
เข็ม ทิศเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการหาทิศของจุดหรือวัตถุ โดยมีหน่วยวัดเป็นองศา เปรียบเทียบกับจุดเริ่มต้น เข็มทิศใช้ในการหาทิศโดยอาศัยแรงดึงดูดระหว่างสนามแม่เหล็กขั้วโลก (Magnetic Pole) กับเข็มแม่เหล็ก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของเครื่องมือนี้ เข็มแม่เหล็กจะแกว่งไกวได้โยอิสระในแนวนอน เพื่อให้แนวเข็มชี้อยู่ในแนวเหนือใต้ ไปยังขั้วแม่เหล็กโลกตลอดเวลา หน้าปัดเข็มทิศซึ่งคล้ายกับหน้าปัดนาฬิกาจะมีการแบ่งโดยรอบเป็น 360 องศา
1) ประโยชน์ของเข็มทิศ เข็มทิศใช้ประโยชน์ในการเดินทาง ได้แก่ การเดินเรือทะเล เครื่องบิน การใช้เข็มทิศจะต้องมีแผนที่ประกอบ และต้องหาทิศเหนือก่อน เพื่อจะได้รู้ทิศอื่น
2) การใช้เข็มทิศ เนื่องจากการหาทิศจริงในแผนที่ต้องใช้เข็มทิศ เพื่อหาทิศเหนือก่อน จึงต้องวางแผนที่ให้ตรงทิศตามเข็มทิศ จากนั้นจึงใช้แผนที่ได้ตามวัตถุประสงค์

1.3 รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม
รูป ถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมเป็นรูปหรือข้อมูลตัวเลขที่ได้จากการเก็บ ข้อมูลภาคพื้นดินจากกล้องที่ติดอยู่กับพาหนะ เช่น เครื่องบิน หรือดาวเทียม โดยมีการบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดหรือหยาบในเวลาแตกต่างกัน จึงทำให้เห็นภาพรวมของการใช้พื้นที่และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตามที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก เช่น การเกิดอุทกภัย ไฟป่า การเปลี่ยนแปลง การใช้ที่ดิน การก่อสร้างสถานที่ เป็นต้น
1) ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ที่นิยมใช้กันมากจะเป็นรูปหรือภาพถ่ายที่ได้จากการสะท้อนคลื่นแสงของดวงอาทิตย์ขึ้นไปสู่เครื่องบันทึกที่ติดอยู่บนเครื่องบิน
หรือ ดาวเทียม การบันทึกข้อมูลอาจจะทำโดยใช้ฟิลม์ เช่น รูปถ่ายทางอากาศสีขาว-ดำ หรือรูปถ่ายทางอากาศสีธรรมชาติ การบันทึกข้อมูลจากดาวเที่ยมจะใช้สัญญาณเป็นตัวเลขแล้วจึงแปลงค่าตัวเลขเป็น ภาพจากดาวเทียมภายหลัง
2) การใช้รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ผู้ใช้จะต้องได้รับการฝึกหัดเพือแปลความหมายของข้อมูล การแปลความหมายอาจจะใช้การแปลด้วยสายตาตามความสามารถของแต่ละบุคคล หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมเข้ามาช่วย

1.4 เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์
ใน โลกยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนมาก เทคโนโลยีจึงเข้ามามีความสำคัญ และจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต เทคโนโลยีที่สำคัญด้านภูมิศาสตร์ คือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือ GIS (Geographic Information System) และระบบกำหนดตำแหน่งพื้นผิวโลกหรือGPS (Global PositioningSystem) เครื่องมือทั้งสองจะประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ (Hard ware) ซึ่งมีขนาดต่างๆและโปรแกรมหรือซอฟแวร์ (Software)
1) ประโยชน์ของเครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์ จะคล้ายกับการใช้ประโยชน์จากแผนที่สภาพภุมิประเทศและแผนที่เฉพาะเรื่อง เช่น จะให้ตำตอบว่า ถ้าจะต้องเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในแผนที่จะมีระยะทางเท่าใด และถ้าทราบความเร็วของรถจะทราบได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าใด
หลัก การทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ การจัดหมวดหมู่ของข้อมูลตามความต้องการที่จะนำไปวิคราะห์การคัดเลือกตัวแปร หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย และการซ้อนทับข้อมูล ตัวอย่างเช่น ต้องการหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือเหมาะสมดี เหมาะสมปานกลาง และไม่เหมาะสม โดยคัดเลือกข้อมูล 2 ประเภท คือ ดินและสภาพภูมิประเทศ
2) การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์ การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีจำเป็นต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม ผู้ใช้จะต้องได้รับการฝึกฝนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ
        2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศของไทย
ปัจจุบัน ได้มีการคิดค้นและพัฒนาการข้อมูลสารสนเทศอย่างรวดเร็ว และได้เผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนมาก โดยเฉพาะการนำข้อมูลเข้าเว็บไซต์ให้ประชาชนและผู้สนใจทั่วไปเข้าไปดูข้อมูล ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล แต่ข้อมูลบางชนิดอาจต้องติดต่อจากหน่วยงานนั้นๆโดยตรง ทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน เว็บไซต์ที่น่าสนใจ เช่นข้อมูลด้านสถิติ(www.nso.go.th) ข้อมูลประชากร(www.dola.go.th) ข้อมูลดาวเทียม(www.gistda.go.th) ข้อมูลดินและการใช้ที่ดิน (www.dld.go.th) เป็นต้น
กล่าว โดยสรุป เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใช้ประกอบการศึกษาและการเก็บข้อมูล เครื่องมือบางชนิดเหมาะสำหรับใช้ในห้องเรียน หรือห้องปฏิบัติการ เครื่องมือบางชนิดใช้ได้สำหรับในห้องเรียนและในสนาม ผู้ใช้จะได้รู้ว่าเมื่อใด ควรใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ในห้องเรียน และเมื่อใดควรใช้ในภาคสนาม เครื่องมือบางชนิดจะมีความซับซ้อนมาก หรือต้องใช่ร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม
เครื่อง มือทางภูมิสาสตร์ที่มีความสำคัญมากในปัจจุบันคือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ซึ่งแปลงสารสนเทศที่เกี่ยวกับพื้นที่ และข้อมูลตารางหรือคำอธิบายที่ให้เป็นข้อมูลเชิงตัวเลขทำให้การจัดเก็บเรียก ดูข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขและการวิเคราะห์เป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องและแสดงผลใน รูปแบบแผนที่ กราฟ หรือตารางได้อย่างถูกต้องอีกด้วย ส่วนระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GIS) ใช้กำหนดจุดพิกัดตำแหน่งของวัตถุต่างๆ บนผิวโลก โดยอาศัยสัญญาณ จากดาวเทียมหลายดวงที่โคจรอยู่รอบโลก

เครื่องมือและการใช้เครื่องมือในการศึกษาทางภูมิศาสตร์

แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ความหมายของแผนที่
พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของแผนที่ไว้ว่าแผนที่ คือ สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่ปรุงแต่งขึ้น โดยแสดงลงในพื้นแบนราบ ด้วยการย่อให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและอาศัยเครื่องหมายกับสัญลักษณ์ที่ กำหนดขึ้น
แผนที่ หมายถึง การนำเอารูปภาพสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก (Earth’ surface) มาย่อส่วนให้เล็กลง แล้วนำมาเขียนลงกระดาษแผ่นราบ สิ่งต่างๆ บนพื้นโลกประกอบไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (nature) และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (manmade) สิ่งเหล่านี้แสดงบนแผนที่โดยใช้สี เส้นหรือรูปร่างต่างๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทน
การจำแนกชนิดของแผนที่
                 ปัจจุบันการจำแนกชนิดของแผนที่ อาจจำแนกได้หลายแบบแล้วแต่จะยึดถือสิ่งใดเป็นหลักในการจำแนก เช่น
1. การจำแนกชนิดของแผนที่ตามลักษณะที่ปรากฏบนแผนที่ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1.1 แผนที่ลายเส้น (Line Map) เป็น แผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นที่ด้วยเส้นและองค์ประกอบของเส้น ซึ่งอาจเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ท่อนเส้น หรือเส้นใดๆ ที่ประกอบเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ถนนแสดงด้วยเส้นคู่ขนาน อาคารแสดงด้วยเส้นประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม สัญลักษณ์ที่แสดงรายละเอียดเป็นรูปที่ประกอบด้วยลายเส้น แผนที่ ลายเส้นยังหมายรวมถึงแผนที่แบบแบนราบและแผนที่ทรวดทรง ซึ่งถ้ารายละเอียดที่แสดงประกอบด้วยลายเส้นแล้วถือว่าเป็นแผนที่ลายเส้นทั้ง สิ้น 


ตัวอย่างแผนที่ลายเส้น
1.2 แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) เป็น แผนที่ซึ่งมีรายละเอียดในแผนที่ที่ได้จากการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพ ซึ่งอาจถ่ายภาพจากเครื่องบินหรือดาวเทียม การผลิตแผนที่ทำด้วยวิธีการนำเอาภาพถ่ายมาทำการดัดแก้ แล้วนำมาต่อเป็นภาพแผ่นเดียวกันในบริเวณที่ต้องการ แล้วนำมาใส่เส้นโครงพิกัด ใส่รายละเอียดประจำขอบระวาง แผนที่ภาพถ่ายสามารถทำได้รวดเร็ว แต่การอ่านค่อนข้างยากเพราะต้องอาศัยเครื่องมือและความชำนาญ 
ตัวอย่างแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ
1.3 แผนที่แบบผสม (Annotated Map) เป็น แบบที่ผสมระหว่างแผนที่ลายเส้นกับแผนที่ภาพถ่าย โดยรายละเอียดที่เป็นพื้นฐานส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพ ส่วนรายละเอียดที่สำคัญๆ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ถนนหรือเส้นทาง รวมทั้งอาคารที่ต้องการเน้นให้เห็นเด่นชัดก็แสดงด้วยลายเส้น พิมพ์แยกสีให้เห็นเด่นชัดปัจจุบันนิยมใช้มาก เพราะสะดวกและง่ายแก่การอ่าน มีทั้งแบบแบนราบ และแบบพิมพ์นูน ส่วนใหญ่มีสีมากกว่าสองสีขึ้นไป 
 ตัวอย่างแผนที่แบบผสม
2. การ จำแนกชนิดของแผนที่ตามขนาดของมาตราส่วน ประเทศต่าง ๆ อาจแบ่งชนิดของแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนไม่เหมือนกัน ที่กล่าวต่อไปนี้เป็นการแบ่งแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนแบบหนึ่งเท่านั้น
2.1 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักภูมิศาสตร์
2.1.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเล็กว่า 1:1,000,000
2.1.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 ถึง 1:1,000,000
2.1.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000
2.2 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักการทหาร
2.2.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วน 1:600,000 และเล็กกว่า
2.2.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:600,000 แต่เล็กกว่า 1:75,000
2.2.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:75,000 และใหญ่กว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น